วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566

ทำไมเด็กๆ ถึงใช้คำหยาบใน “สื่อออนไลน์”

การใช้ “คำหยาบ” ในโลกออนไลน์ อาจเป็นปัญหาที่คุณครูและพ่อแม่อาจกำลังกังวล โดยอาจไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น และวิธีป้องกัน หรือแก้ไข

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566

เช็กสัญญาณอันตราย "ความเครียด" กำลังถามหา

 ในสภาวะการเรียนการทำงานที่พบปะผู้คนน้อยลง และมีเรื่องให้ต้องคิดมากในหลายๆ ด้าน ทำให้คนไทยในช่วงนี้มีความเสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะเครียดกันมากขึ้น ลองมาเช็กตัวเองกันดูดีกว่าว่ามีความเสี่ยง “ภาวะเครียด” มากน้อยแค่ไหน

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เช็ก 9 พฤติกรรมสัญญาณเตือน "โรคซึมเศร้า"

 ในช่วงนี้ตามสื่อหรือช่องทางการสื่อสารต่างๆ เราจะเห็นข่าวคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้นเรื่อยๆ เคยสงสัยกันไหมว่าจริงๆ แล้ว การป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีปัจจัยมาจากอะไรบ้าง ถึงทำให้จำนวนคนที่ป่วยเป็นโรคนี้เยอะมากขึ้นทุกวัน แล้วตัวเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ วันนี้เราจะยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้ามาให้ทราบกัน เพื่อเป็นการตรวจสอบตนเองไปด้วยพร้อมๆ กันค่ะ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

6 สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลังเครียดจนเกินรับมือไหว

 เมื่อเราต้องอยู่ในสังคมที่เพิ่มความเคร่งเครียดขึ้นทุกวัน เพราะต่างก็ต้องต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด จนกระทั่งมีประโยคแห่งยุคสมัยที่ว่า “อ่อนแอ ก็แพ้ไป” ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตทุกวันนี้ คนที่ไม่พร้อมจะต่อสู้ หรือไม่กล้าที่จะตอบโต้ กลายเป็นคนอ่อนแอ และต้องถูกย่ำยีตลอดเวลา จนกระทั่งเกิดคำขึ้นอีกคำที่ว่า “โลกทำให้ฉันร้าย” ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นสภาพจิตใจของคนในสังคม ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเคร่งเครียดอยู่ตลอดเวลา และบางคนนั้นอาจมากจนเกินรับมือไหว ดังนั้น คงจะดีกว่าถ้าเราสังเกตตนเอง แล้วดูว่า ความเครียดของเราในเวลานี้ อยู่ในระดับเกินจะทนหรือยัง

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

4 เทคนิค “จดจำแม่นยำ” เมื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

 การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน โดยเฉพาะการจดจำข้อมูลใหม่ๆ ที่เพิ่งได้รับมา ซึ่งมีไม่น้อยที่มักจะรู้สึกว่าเป็นอุปสรรคสำคัญ จนเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากเรียนรู้สิ่งนั้นๆ แถมบางคนอาจจะไปโทษด้วยว่าเป็นเพราะอายุมากขึ้น ความจำจึงไม่ดีเหมือนตอนวัยรุ่น ซึ่งถ้าปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็อาจจะเสียโอกาสดีๆ ในการพัฒนาตนเองได้

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

สัญญาณเตือนเข้าข่ายเป็น “โรควิตกกังวล”

 ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2556 พบประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปเป็นโรควิตกกังวล ร้อยละ 0.3 โดยคาดว่าทั่วประเทศไทย น่าจะมีประมาณ 140,000 คน ซึ่งโรควิตกกังวล คือโรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงกว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะพบว่ามีความวิตกกังวลและอาการอื่นๆ ต่อเนื่อง และอาการไม่หายไป หรืออาจมีอาการที่แย่ลงได้ในที่สุด โดยสาเหตุของโรควิตกกังวล มักเกิดมาจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง และเกี่ยวกับพื้นฐานสุขภาพจิตของแต่ละบุคลด้วย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคตามมาอีกหลายโรค

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

"เด็ก" ก็เครียดเป็น ภัยเงียบที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ

 เมื่อพูดถึง “ความเครียด” มันเป็นภาวะหนักอกหนักใจ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความรู้สึกแย่ ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย นั่นก็หมายความว่า “เด็ก” ก็ไม่ใช่กลุ่มคนที่ความเครียดจะยกเว้น ไม่เข้ามากล้ำกราย พวกเขาเองก็ใช้ชีวิตในสังคม วันๆ ต้องเจอกับเรื่องต่างๆ อาจไม่มากหรือเลวร้ายรุนแรงเท่าผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มี ฉะนั้น เด็กเองก็มีความเครียดได้ไม่ต่างจากผู้ใหญ่อย่างเราๆ