วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

แบบทดสอบ “ภาวะซึมเศร้า” คุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือไม่?

 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่แบบทดสอบ “ภาวะซึมเศร้า” เบื้องต้น ผ่านคำถาม 9 ข้อ เมื่อตอบครบจะสามารถประเมินความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าได้อย่างคร่าวๆ พร้อมคำแนะนำให้นำไปปรับใช้ง่ายๆ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

PCD อาการเศร้าหลังจบคอนเสิร์ต คืออะไร

 นับเป็นอีกเรื่องน่ายินดี ที่คอนเสิร์ตเริ่มกลับมาจัดอีกครั้งหลังเงียบหายไปนานเพราะสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงได้ไปมาบ้างแล้วและคงหายคิดถึงกันไป 

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2565

16 อาการที่สังเกตได้ของ "ไบโพลาร์"

 หากลองสังเกตดีๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียดในชีวิตประจำวันพบได้บ่อยมากขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และยังส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่กลับมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่ยากนัก 

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

"ซึมเศร้าซ่อนเร้น" ซึมเศร้าแต่ไม่แสดงอาการ คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า

 นอกจากโรคซึมเศร้าจะอันตรายและควรรีบรักษาแล้ว การเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวยิ่งอันตรายกว่าเดิม ทางการแพทย์เราอาจเรียกอาการนี้ว่า “ซึมเศร้าซ่อนเร้น”

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สังเกต 5 อาการ เสี่ยง “โรคซึมเศร้า”

 โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้เป็นจำนวนไม่น้อย โดยอัตราการเสียชีวิตของหนุ่มสาวที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ตัวเองอยู่ในภาวะซึมเศร้านั่นเอง โรคนี้บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเองก็มี ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

นอนกี่ชั่วโมง ถึงจะ “พอดี” กับ “อายุ”

 เป็นเหมือนกันไหมคะ ยิ่งอายุมาก ก็ยิ่งนอนน้อย แต่วันไหนที่นอนมาก ก็อาจจะไม่ได้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอไป เป็นเพราะเมื่อเราโตขึ้น ระยะเวลาในการนอนหลับของเราก็เปลี่ยนไปตามอายุของเราด้วย อายุเท่าไร ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะเรียกได้ว่านอนอย่างเพียงพอ มาดูกัน 

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

8 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “ไบโพลาร์”

 ในสังคมไทยสามารถพบผู้ป่วยทางจิตได้มากขึ้น เนื่องจากความเครียดสะสม รวมไปถึงกรรมพันธุ์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของโรคทางจิตหลายๆ โรค แต่สำหรับ "ไบโพลาร์" อาจยังมีหลายคนที่เข้าใจอาการของโรคนี้ผิดไปจากความเป็นจริงอยู่บ้าง จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ และอาการที่สังเกตได้คร่าวๆ ด้วยตัวเองมาฝากกัน

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

6 สัญญาณอันตราย ร่างกายเตือนให้เราต้อง "พักผ่อน"

 ไม่ว่าจะเรียน ทำงาน สิ่งเหล่านี้ก็สามารถสร้างความเครียด ความกดดันให้กับเราได้ ส่วนใหญ่มันจะค่อยๆสะสมความเหนื่อย ความเครียดให้กับร่างกายและจิตใจของเรา จนถึงจุดที่ตัวเราจะส่งสัญญาณออกมา ถ้าเรามี 6 สัญญาณนี้ ก็ควรรีบหยุดพักให้เร็วที่สุด 

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

Headline Stress Disorder สุขภาพจิตพังจากการเสพข่าวหดหู่มากเกินไป

 เหตุบ้านการเมืองมักไม่ใช่ข่าวดี และอาจทำให้สภาพจิตใจของเราหดหู่ลงได้เรื่อยๆ ในขณะที่เรากำลังอ่านข่าวเสพข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น แต่เข้าใจว่าจะไม่ให้ติดตามข่าวเลยก็อาจเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะหลายคนที่อาจมีความจำเป็นต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดเพราะอาจเกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

8 อาการของคนที่กำลัง "เครียด-วิตกกังวล" มากเกินไป

 อากัปกิริยาที่เกิดขึ้นในชั่วขณะหนึ่ง สามารถบอกเราได้ว่าเขาคนนั้นกำลังอยู่ในอารมณ์ไหน อยู่ในภาวะอารมณ์ไหน โดยเฉพาะใครที่กำลังเครียดจัด หรือมีความวิตกกังวลมาก อาจแสดงออกทางภาษากายที่เราสามารถสังเกตได้ชัดเจนด้วย

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

5 เหตุผล ทำไม “ผู้สูงอายุ” เสี่ยง “ซึมเศร้า” มากกว่าที่คิด

 ขณะที่สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์มาตั้งแต่ปี 2564 และกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในปี 2574 ซึ่งก็คือการที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ แต่การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาจากการที่มีผู้สูงอายุล้นเมืองยังไม่ค่อยมีให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนเท่าที่ควร ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงวัยนั้นต้องการการดูแลทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ไม่มีอนาคตให้คาดหวัง มีแต่ปัจจุบันและอดีตให้ถวิลหาเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ทำไมคำว่า "สู้ๆ" อาจไม่เหมาะที่จะพูดกับผู้ป่วย "ซึมเศร้า"

 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยอ่าน เคยได้ยินกันมาบ้างเกี่ยวกับคำที่ควรใช้กับคนที่มีอาการซึมเศร้า อย่างคำว่า "สู้ๆ" นั้นก็เป็นหนึ่งคำที่ไม่ควรใช้ เคยสงสัยกันไหมว่าทำไม? 

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"กระตุ้นสมองด้วยคลื่นไฟฟ้า" วิธีรักษาผู้ป่วย "ซึมเศร้า" ที่ดื้อต่อการรักษา

 โรคซึมเศร้า เป็นภัยเงียบที่ทำลายความเป็นตัวตน พรากความสุขและรอยยิ้มของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคและรับการรักษามาอย่างยาวนาน อาจมีประสบการณ์การดื้อยาและดื้อการรักษาได้ การรักษาแบบ TMS เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถคืนความสุข เวลา และรอยยิ้มให้ผู้ป่วยได้

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565

4 วิธีแก้เครียดเวลารถติด ป้องกันสุขภาพจิตพัง

 รถติด หนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับคนกรุงเทพฯ จากที่เคยมีการสำรวจ กรุงเทพของเราก็เคยติดอันดับต้นๆ ของโลกในเรื่องรถติด โดยผู้คนในประเทศไทยเคยเสียเวลาเฉลี่ยประมาณ 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนท้องถนน แต่รถติดไม่ใช่แค่เสียเวลาชีวิตอย่างเดียวมันตามมาด้วยปัญหาทางสุขภาพจิต แล้วเราจะรับมือกับมันได้อย่างไร ลองทำตาม 4 วิธีนี้ดู 

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

คนญี่ปุ่นแนะนำ 3 วิธีควบคุมอารมณ์หงุดหงิด-โกรธง่าย

 คนเรามีทั้งอารมณ์ด้านบวก เช่น สนุกสนาน ตื่นเต้น และมีความสุข และอารมณ์ด้านลบ เช่น หงุดหงิด โกรธ และโวยวาย อารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นจากสิ่งกระตุ้นจากบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา บางครั้งทำให้ยากที่จะควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ในด้านลบ เช่น ความหงุดหงิดหรือความโกรธ มารู้วิธีการที่คนญี่ปุ่นแนะนำว่าหากทำเป็นประจำแล้วจะช่วยให้ควบคุมอารมณ์จากความหงุดหงิดและความโกรธได้กัน

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

5 วิธีหยุดสมอง เลิกคิดเรื่องงานระหว่างนอนหลับ

 พอจะนอนที่ไรเรื่องมากมายมักวิ่งเข้ามาในหัว หนึ่งเรื่องที่มักวิ่งเข้ามาคือเรื่องงาน จากการศึกษาของ Korn Ferry พบว่าชาวอเมริกันต้องอดนอนหรือมีปัญหาด้านการนอนจากความเครียดในเรื่องงานถึง 66% การอดนอนนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก วันนี้เลยมี 5 วิธีที่น่าสนใจมาฝากกัน

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

5 วิธีลดความเครียด ฉบับวัยทำงาน

 สิ่งที่ตามมาจากการทำงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความเครียดและมันอาจจะมากขึ้นหากใกล้ถึงเวลาส่งงาน เวลาทำโปรเจกต์ เวลาเจอเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าแย่ๆ จนมันส่งผลกระทบครอบงำชีวิตของเราได้ มันทำให้เรารู้สึกไม่มีความสุขในชีวิต นี่คือ 5 สิ่งที่ควรทำหากคุณกำลังรู้สึกแบบนี้

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565

ทำไม นอน "ละเมอ" ไม่ควรรีบปลุกให้ตื่นทันที

 นอนละเมอ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน แต่คุณอาจไม่เคยทราบว่า อะไรคือเหตุผลที่คุณอาจคาดไม่ถึง ว่าทำไมคนที่นอนละเมอ หรือละเมอเดิน ไม่ควรเข้าไปเขย่าตัวปลุกให้ตื่นในทันที

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565

คนญี่ปุ่นแนะนำ 3 วิธีควบคุมอารมณ์หงุดหงิด-โกรธง่าย

 คนเรามีทั้งอารมณ์ด้านบวก เช่น สนุกสนาน ตื่นเต้น และมีความสุข และอารมณ์ด้านลบ เช่น หงุดหงิด โกรธ และโวยวาย อารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นจากสิ่งกระตุ้นจากบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา บางครั้งทำให้ยากที่จะควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ในด้านลบ เช่น ความหงุดหงิดหรือความโกรธ มารู้วิธีการที่คนญี่ปุ่นแนะนำว่าหากทำเป็นประจำแล้วจะช่วยให้ควบคุมอารมณ์จากความหงุดหงิดและความโกรธได้กัน

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565

“ซึมเศร้า” แค่ไหน ถึงควรพบจิตแพทย์

 บางครั้งเราก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองซึมเศร้าแล้วจริงๆ หรือแค่เบื่อหน่ายชีวิต ถึงจุดไหน อาการไหน ที่บอกได้ว่าเราควรต้องพึ่งจิตแพทย์แล้ว มาดูคำแนะนำจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยกัน

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วิธีรับมือ เมื่อคนใกล้ชิดอยากทำร้ายตัวเอง

 หากคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนรักของเรามีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง อยากฆ่าตัวตาย เราควรทำอย่างไรถึงจะช่วยพวกเขาได้

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โรคซึมเศร้า กับ 6 พฤติกรรมที่พบได้บ่อย แต่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว

 สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุพฤติกรรมของผู้ป่วยซึมเศร้าที่พบได้บ่อยแต่อาจจะไม่ได้แจ้งจิตแพทย์ เพราะอาจไม่ทันได้ตระหนักว่าเป็นเรื่องผิดปกติ นั่นคือการ “ดู Youtube Tiktok หรือ คลิปอะไรสั้นๆ ไปเรื่อยๆ เป็นเวลานานๆ”

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วิจัยชี้ กินยาแก้ซึมเศร้านานๆ อาจทำให้ "เซโรโทนิน" ลดลง

 สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย เผยผลการศึกษาล่าสุด พบว่า ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสารเซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากระดับของเซโรโทนินที่ต่ำลง และกินยาแก้ซึมเศร้านานๆ อาจทำให้เซโรโทนินลดลง

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วางมือถือใกล้หมอน เสี่ยง "มะเร็ง" หรือไม่

 ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงว่าการวางโทรศัพท์มือถือใกล้บริเวณศีรษะ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งสมองทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก อีกทั้งโทรศัพท์มือถือจะปล่อยคลื่นวิทยุออกมา ไม่ใช่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามที่กล่าวอ้าง

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ทำงานเป็นกะ นอนไม่หลับ ควรทำอย่างไร

 คนที่จำเป็นต้องเข้างานเป็นกะ สลับกะเช้ากะดึก เช่น หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานโรงงาน พนักงานบนทางด่วน พนักงานขนส่ง พนักงานดับเพลิง ทีมงานสถานีโทรทัศน์ ฯลฯ อาจมีปัญหานอนไม่หลับได้ ควรทำอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Midlife Crisis วิกฤตวัยกลางคน กับวิธีที่ผ่านมันไปให้ได้

 Midlife Crisis คือ วิกฤตวัยกลางคน วิกฤตในเชิงจิตวิทยาสำหรับคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักมีอาการคล้ายๆ ซึมเศร้า เครียด หลายคนที่อยู่ในช่วงวัย 40 มักเจอปัญหานี้ วันนี้เรามาเข้าใจเกี่ยวกับวิกฤตนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า 

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

10 สัญญาณอันตราย เสี่ยงโรคแพนิค

 10 สัญญาณอันตราย เสี่ยงโรคแพนิค เช็กตัวเองกันว่าคุณเครียด ตกใจ กลัว จนอาจกำลังเสี่ยงโรคแพนิคโดยไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

3 สิ่งที่ควรทำหลังตื่นนอน เพื่อให้หลับง่ายในตอนกลางคืน

 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ทั้งอาการหลับยาก หรือเหนื่อยมากแต่ก็นอนไม่หลับ ศาสตราจารย์โคบายาชิ ฮิโรยูกิ ศาสตราจารย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุนเทนโด ชี้ว่าสาเหตุของปัญหาเหล่านี้คือความไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้น เราจะมาแนะนำ 3 สิ่งที่ควรทำเพื่อให้ระบบประสาทอัตโนมัติของเราทำงานได้ดียิ่งขึ้นกัน

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

แพทย์ญี่ปุ่นแนะ 5 วิธีลดเครียดได้ง่ายๆ ฉบับวัยทำงาน

 ความเครียดที่ไม่รู้ตัว เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันจากการทำงาน ครอบครัว สังคมที่เปลี่ยนไป ระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค สถานการณ์โควิด-19 และข่าวสงคราม เป็นต้น แม้ว่าความเครียดจะไม่ส่งผลให้รู้สึกหงุดหงิดหรือนอนไม่หลับ แต่ก็มาในรูปแบบที่อาจทำให้กิจวัตรในแต่ละวันช้าลงจนไม่อยากทำอะไร มารู้ผลของความเครียดสะสมแบบไม่รู้ตัว และวิธีการจัดการกับความเครียดตามคำแนะนำของคุณหมอญี่ปุ่นกัน

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

7 วิธีแก้ปัญหา "นอนไม่หลับ" โดยไม่ต้องกินยา

 หลายคนอาจนอนไม่หลับจนเลือกยามาช่วย แต่ยานอนหลับอาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย หากลองวิธีอื่นๆ ก่อนจะข้ามสเต็ปไปที่การกินยา เราอาจจะนอนหลับดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งยาก็ได้

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565

3 วิธีหาทางลดความเครียดด้วยตัวเอง จากจิตแพทย์ญี่ปุ่น

 ความเครียดของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนเครียดง่ายและเครียดนาน บางคนเครียดแต่สามารถจัดการความเครียดได้ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นความเครียดที่สะสมเป็นเวลานานส่งผลร้ายต่อสุขภาพกายและใจ มารู้วิธีการจัดการความเครียดเพื่อให้ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในโลกปัจจุบันจากคุณหมอนักจิตวิทยาชาวญี่ปุ่น คุณหมอ Mai Minami กัน

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทำอย่างไรเมื่อ "เด็กโกหก"

 เมื่อเด็กหรือลูกของเรากำลังโกหกควรทำอย่างไร ปัญหาที่ทุกคนต้องเจอสักครั้งในชีวิต อาจจะมาจากลูกหลานของเรา เมื่อพวกเขากำลังโกหก เราจะมีวิธีรับมืออย่างไรและสอนอย่างไรดี 

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

5 โรควิตกกังวลที่พบบ่อยในวัยทำงาน

 วัยทำงานกับความเครียดสะสมที่เกิดจากการทำงาน การพักผ่อนน้อย ความกดดันทางการเงินและสังคม การเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยตัวเอง และอื่นๆ เป็นบ่อเกิดของโรควิตกกังวลที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565

3 วิธีลดความเสี่ยง โรคซึมเศร้า

 แค่ 3 วิธีง่ายๆ นี้ก็อาจช่วยให้คุณรอดพ้นจากความทรมานของโรคซึมเศร้าได้ ลองดูกันก่อน รับรองทำตามได้แน่ๆ

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565

เลิกเล่นโซเชียลมีเดียแค่ 1 สัปดาห์ สุขภาพจิตจะดีขึ้น

 รู้สึกวิตกกังวลหรือหดหู่มากขึ้นไหม เมื่อเราได้เล่นโซเชียลมีเดีย นักวิจัยจาก University of Bath กล่าวว่าหนึ่งวิธีที่จะช่วยได้แค่หยุดพักจากโซเชียลมีเดีย แค่ 1 สัปดาห์ 

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สาเหตุ “ขากระตุกขณะหลับ” ปัญหานอนไม่หลับของผู้สูงอายุ

 ภาวะขากระตุกขณะหลับ ส่งผลต่อคุณภาพการนอน ทำให้หลับได้ไม่สนิทผู้ป่วยอาจตื่นระหว่างคืนหลายครั้งและอาจทำให้ง่วงได้ในตอนกลางวัน โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่โดยมากจะพบในผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่50-65 ปี และอาจพบในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยจะพบอาการรุนแรงในช่วงสองไตรมาสหลัง

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หมอญี่ปุ่นแนะ 6 วิธีสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดี ป้องกันโรคสมองเสื่อม

 กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าในปี 2025 ประชากรประมาณ 7 ล้าน 3 แสนคน หรือ จำนวน 1 ใน 5 ของประชากรอายุ 65 ปีจะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม โดยสาเหตุของโรคสมองเสื่อมนั้นเกิดจากการที่สมองสะสมโปรตีนที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) และโปรตีนเตา (Tau protein ) มากกว่าปกติ ซึ่งโปรตีนเหล่านี้จัดเป็นขยะในสมองที่ร่างกายขจัดออกได้เมื่อนอนหลับสนิท

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

8 วิธีลดปัญหา ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ-หลับไม่สนิท

 ผู้สูงอายุฝึกเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา รับประทานอาหารให้พอดี ออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน งดสูบบุหรี่ ลดแอลกอฮอล์ งดอ่านหนังสือ งดดูโทรศัพท์มือถือและงดดูโทรทัศน์ก่อนเข้านอน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุให้มีคุณภาพที่ดี

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

รู้จัก "ฮิคิโคโมริ" โรคเก็บตัวที่หนุ่มสาวควรได้รับการเยียวยา

 ฮิคิโคโมริ (HiKikomori) คำนี้เชื่อว่าหลายคน น่าจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง เพราะมันคืออาการทางจิต ที่ผู้ป่วยจะชอบเก็บตัว เรามักจะเห็นผู้คนชอบหยิบยกคำนี้มาใช้กับเด็กหรือลูกของตัวเองและสงสัยว่าเป็นโรคนี้รึเปล่า วันนี้มารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า 

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ปวดหัว อาการปวดหัวแบบไหน ถึงเรียกว่า “ผิดปกติ”

 ไม่ว่าใคร อายุเท่าไร เพศอะไร ก็ปวดหัวได้ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการปวดหัวก็มีมากมายหลายประการ จนคุณอาจไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ สังเกตอาการของผู้ใหญ่ที่บ้านได้อย่างไร

 สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบันส่งผลให้ยอดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในบ้านเราเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน เราทุกคนก็มีสิทธิ์เป็นโรคซึมเศร้าได้เท่าๆ กัน ไม่เว้นแม้แต่วัยผู้สูงอายุที่หลายคนอาจจะคิดว่า วัยนี้ไม่น่าจะมีเรื่องเครียด หรือทุกข์ร้อนอะไรมากเท่าคนวัยทำงานที่ต้องเร่งหาเงิน สร้างฐานะและครอบครัว 

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

3 สาเหตุที่ทำให้เรา "นอนไม่หลับ" และวิธีลดความฟุ้งซ่านก่อนนอน

 เพราะอะไรเราถึงนอนไม่หลับ เพราะในหัวเราคิดนู่นนี่อยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า แล้วควรทำอย่างไรถึงจะหยุดคิดได้

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

8 วิธีแก้ปัญหา “นอนไม่หลับ” ของผู้สูงอายุ

 หนึ่งในความเข้าใจผิดที่มักมีต่อผู้สูงอายุคือความเชื่อที่ว่า การนอนไม่หลับหรือนอนได้ไม่ดีเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้ว ถึงแม้ว่าอายุจะมากขึ้นแต่คนส่วนใหญ่ยังสามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเข้าใจถึงการปรับตัวและสุขอนามัยของการนอนที่ดี 

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

"อดนอน" นานๆ ถึงตายได้เลยหรือไม่

 การอดนอนนั้นส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตโดยตรง แม้จะเป็นเพียงการอดนอนเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลต่อเราได้


เริ่มจากพักผ่อนไม่เพียงพอ

ก่อนที่จะไปถึงการอดนอน แค่พักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนน้อยกว่าที่ร่างกายเราต้องการจะเกิดผลอะไรบ้าง 


  • ตอบสนองช้าลง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 
  • เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคมากขึ้น
  • สุขภาพจิตแย่ลง 

          เพียง 4 ข้อนี้ก็น่าจะกระทบทุกอย่างในชีวิตของเราได้แล้ว คำแนะนำสำหรับชั่วโมงการนอนคือ 7-8 ชั่วโมง หากเป็นเด็กควรอยู่ที่ 11 – 13 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรหลับอย่างมีคุณภาพ ไม่หลับๆ ตื่นๆ ด้วยนะ 


อดนอน 1 วัน

การอดนอนหนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมงอาจส่งผลให้คุณอยู่ในลักษณะเดียวกับอาการมึนเมา มีงานวิจัยชี้ว่า การอดนอน 1 วันนั้นส่งผลต่อการโฟกัส สมาธิ ประสิทธิภาพของเรามากพอๆ กับการมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ 0.10 เปอร์เซ็นต์ 


อาการที่สังเกตได้บ่อยๆ คือ 


  • ง่วงนอนตอนกลางวัน
  • รู้สึกไม่สดชื่น
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิด โมโหง่ายกว่าปกติ
  • สมาธิสั้นลง 
  • การมองเห็นหรือได้ยินอาจแย่ลง 

อดนอน 1.5 วัน 

การอดนอนเป็นเวลา 36 ชั่วโมงเราจะเริ่มเห็นผลกระทบชัดมากยิ่งขึ้น ร่างกายจะอยู่ภายใต้ความเครียดร่างกายผลิตคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) มากกว่าปกติ ร่างกายเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น อยากอาหาร เครียด รู้สึกหนาวสั่น 


นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ประกอบเช่น 


  • จดจำได้แย่ลง
  • รู้สึกไม่มีพลังงาน
  • แรงจูงใจน้อยลง
  • สมาธิสั้น 
  • การตัดสินใจแย่ลง 
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอนอย่างรุนแรง
  • พูดติดขัด 

อดนอน 2 วัน

เมื่ออดนอนเป็นเวลา 48 ชั่วโมง คุณจะรู้สึกล่องลอยตลอดทั้งวัน ไม่รู้สึกสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว การจดจำทำได้แย่ลง อารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด ระบบคุ้มกันทำงานแย่ลง โอกาสในการป่วยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการที่เรียกว่า microsleep หรืออาการที่หมดสติไปชั่วขณะโดยไม่รู้ตัว 


อดนอน 3 วันหรือมากกว่า

การอดนอน 3 วันหรือมากกว่านั้นอันตรายมากๆ คุณจะอาการแย่กว่า 2 วันอย่างมาก ร่างกายอ่อนล้าสุดขีด หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ อาจจะเริ่มมีอาการประสาทหลอนบ่อยขึ้น มีอาการหวาดระแวงมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงมาก สมองอาจจะเริ่มหยุดทำงาน นำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ จนถึงแก่ชีวิตได้ 


หากมีปัญหาเรื่องการนอนหลับควรปรึกษาแพทย์ก่อที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเอง การนอนน้อยหรือการอดนอนเสมือนการติดหนี้ (Sleep Debt) ที่ไม่สามารถชดเชยได้ ยังไงก็ควรนอนกันให้เพียงพอ


ที่มา:sanook

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไม “นอน” พอแล้ว แต่ยัง “ง่วง” ไม่สดชื่น

 การนอน คือการพักผ่อนร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่ว่าวันนั้นเราจะต้องเจออะไรมาก็ตาม การนอนจะช่วยเยียวยาทุกอย่างให้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย แต่ใช่ว่าการนอนจะดีเสมอไป เพราะว่านอนน้อยเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกาย หรือถ้า “นอนมากเกินไป” ก็ไม่ได้ เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกัน

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไม "อ่านหนังสือ" แล้ว "ง่วงนอน"

ใครอ่านหนังสือแล้วง่วงนอนบ้างยกมือขึ้น!! แน่นอนว่าคงไม่ใช่ทุกคน แต่ก็คงมีหลายๆ คนที่อ่านหนังสือแล้วง่วงนอน บางคนเป็นตั้งแต่เรียนจนทำงาน วันนี้เลยรวบรวมข้อมูลและสรุปเป็นข้อๆ มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไมนอนหลับครบ 8 ชม. แล้วยังไม่สดชื่น?


เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่ยกขึ้นมาหักล้างความเชื่อเรื่องการนอนตามสูตร 8-10 ชั่วโมง 

อาการตื่นนอนแต่กลับไม่สดชื่น แสดงว่าระดับการนอนอยู่แค่ในระยะหลับตื้น ไม่เข้าสู่ระยะหลับลึก จึงเป็นเหตุให้ความนิยมในการใช้สมาร์ทวอชเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนพยายามบันทึกพฤติกรรมการนอนของตนเอง และหาวิธีเพิ่มคุณภาพการนอนในระยะหลับลึกหรือ Deep Sleep (ไม่นับการนอนดึกหรือตื่นสายจนเกินไป) 

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

นอนไม่หลับ “นับแกะ” ได้ผลจริงหรือไม่ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

 นอนไม่หลับทีไร ต้อง “นับแกะ” ทุกที จริงๆ แล้วในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความเชื่อที่ว่า นอนไม่หลับให้นับแกะ ได้ผลจริงหรือไม่

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

10 วิธี "นอนหลับ" สนิทมากขึ้น ลดเสี่ยง "นอนน้อย" สาเหตุอุบัติเหตุ

 การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ หรือโรคของการนอนหลับ เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะภูมิต้านทานต่ำ และเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการนอนให้เพียงพอเหมาะสม

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565

"นอนไม่หลับ" เสี่ยงซึมเศร้า 2 เท่า

 หากมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง