วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

4 วิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต

 โดยปกติแล้วปัญหาสุขภาพจิตมักส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ จึงทำให้ผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ เพราะผลจากการนอนไม่หลับ ทำให้เกิดอาการง่วงหรืออ่อนเพลียระหว่างวัน รวมทั้งการไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมในช่วงกลางวันทั้งเรียนและทำงาน ดังนั้นหากสำรวจตัวเองแล้วว่ามีอาการนอนไม่หลับเป็นประจำ แนะนำให้ใช้วิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564

7 ผลเสียจากการนอนไม่พอ รู้แล้วมานอนให้เร็วขึ้นกันเถอะ

 รู้ไหมว่าการนอนน้อยเกินไป จนร่างกายได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดผลเสียได้มากมายเลยทีเดียว ซึ่งมีผลเสียอย่างไรบ้างนั้น เราก็ได้รวบรวมมาให้คุณได้ทำความเข้าใจกันแล้ว

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

4 สาเหตุที่อาจทำให้ "หลับๆ ตื่นๆ" ตอนกลางคืน

 เชื่อว่าหลายคนที่กำลังนอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืน จะต้องเคยรู้สึกอารมณ์เสียกันบ้างแน่ๆ ถ้าอยู่ดีๆ ตัวเองจะต้องมาตื่นในกลางดึกทั้งๆ ที่ยังไม่เช้าด้วยซ้ำ ยิ่งใครที่นอนหลับยากๆ อยู่แล้ว และต้องมาตื่นกลางดึกแบบนี้ก็คงต้องกลับไปตั้งใจหลับใหม่ หรือไม่บางคนตื่นแล้วอาจจะต้องตื่นเลย เพราะจะให้นอนต่อก็คงจะนอนไม่หลับจนถึงเช้า หรือหลับต่อยาก 

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ข้อดี-ข้อเสีย ของ "ท่านอน" แต่ละท่า

 เชื่อหรือไม่ว่า ท่านอน ที่เรานอนอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญเหมือนกันนะ เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้


ท่านอน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราได้อย่างไร?

ท่านอนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะท่านอนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ เช่น ส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจ การนอนกรน การปวดเอว อาการนอนไม่หลับ หรือบางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นหยุดหายใจขณะหลับ


ท่านอนสุดโปรด บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพได้บ้าง

ท่านอนสุดโปรด ของเรานั้นสามารถบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพได้บ้าง วันนี้ คุณหมอนำข้อดี และข้อเสีย ลักษณะท่านอนมาฝากทุกคนค่ะ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้


1. นอนหงาย


  • ข้อดี การนอนหงายนั้นเป็นท่าที่ทำให้เรารู้สึกหายใจสะดวกขึ้นขณะหลับ ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ และอาการปวดสะโพก เป็นต้น
  • ข้อเสีย สำหรับหลายๆ คนอาจคิดว่าการนอนหงายนั้นดีต่อสุขภาพ แต่อาจไม่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ เช่น การนอนกรน โรคสมาธิสั้น ไซนัสอักเสบ ความดันโลหิตสูง


2. นอนตะแคงซ้าย


  • ข้อดี ท่านอนตะแคงซ้ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขอาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบหายใจทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจวางหมอนไว้ใต้ท้อง หรือระหว่างหัวเข่า จะช่วยลดแรงกดดันต่อกระเพาะปัสสาวะ และอาการปวดหลัง
  • ข้อเสีย เมื่อนอนตะแคงด้านซ้ายอวัยวะภายในทรวงอกจะขยับได้ ปอดอาจมีน้ำหนักมากต่อหัวใจ ความดันที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ หัวใจอาจตอบสนองต่อความดันที่เพิ่มขึ้น โดยกระตุ้นไตทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน


3. นอนตะแคงขวา


  • ข้อดี ท่านอนตะแคงขวาช่วยหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของการนอนหงาย เช่น ผู้ที่มีอาการนอนกรน ความดันโลหิตสูง ไซนัสอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดข้อต่างๆ ให้บรรเทาลงอีกด้วย
  • ข้อเสีย การนอนตะแคงขวาอาจทำให้เกิดการกดทับที่เส้นประสาทแขนขวา หรืออาจนำไปสู่การบาดเจ็บจากการกดทับหรือโรคระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการปวดไหล่ขวาหลังส่วนล่าง และสะโพกด้านขวา


4. นอนคว่ำ


  • ข้อดี การนอนคว่ำช่วยแก้ไขอาการนอนกรนได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะที่เกิดขึ้นกับทรวงอก
  • ข้อเสีย ท่านอนคว่ำอาจนำไปสู่อาการปวดคอ นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่หรือส่วนบนตึงจากการถูกกดทับเส้นประสาทภายในแขน


5. นอนในท่านั่ง


  • ข้อดี การยกศีรษะระหว่างการนอนหลับอาจลดความเสี่ยงของการนอนกรน และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ข้อเสีย ท่านี้ถือว่าอันตรายอย่างมากหากคุณจะนอนในท่านั่ง โดยการยกศีรษะสูงไว้ตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ยังส่งผลให้เรามีอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดสะโพกได้

การนอนหลับที่เหมาะสม แต่ละช่วงอายุ

นอกจากท่านอนแล้ว สิ่งสำคัญคือเราควรต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับที่เหมาะสมส่วนใหญ่มักอยู่กับอายุของเรา โดยมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) แนะนำช่วงเวลาการนอนหลับที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้


ช่วงอายุ ปริมาณการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน

0-3 เดือน 14-17 ชั่วโมง

4-11 เดือน 12-15 ชั่วโมง

1-2 ปี 11-14 ชั่วโมง

3-5 ปี 10-13 ชั่วโมง

6-13 ปี 9-11 ชั่วโมง

14-17 ปี 8-10 ชั่วโมง

18-25 ปี 7-9 ชั่วโมง

26-64 ปี 7-9 ชั่วโมง

65 ปีขึ้นไป 7-8 ชั่วโมง


หากร่างกายไม่ได้นอนหลับ พักผ่อนเต็มที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานที่ 2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ที่มา:sanook

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564

5 วิธีธรรมชาติ ลด "ความเครียด" อย่างปลอดภัย

 ชีวิตของคนเราทุกวันนี้มีแต่ความตึงเครียด และหากวิธีรับมือกับความเครียดของคุณเองใช้ไม่ได้ผลแล้ว ยังมีวิธีที่ได้รับการสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และความเครียดเหล่านั้นได้ วิธีที่ว่านี้เป็นวิธีทางธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์