วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

"อดนอน" นานๆ ถึงตายได้เลยหรือไม่

 การอดนอนนั้นส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตโดยตรง แม้จะเป็นเพียงการอดนอนเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลต่อเราได้


เริ่มจากพักผ่อนไม่เพียงพอ

ก่อนที่จะไปถึงการอดนอน แค่พักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนน้อยกว่าที่ร่างกายเราต้องการจะเกิดผลอะไรบ้าง 


  • ตอบสนองช้าลง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย 
  • เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคมากขึ้น
  • สุขภาพจิตแย่ลง 

          เพียง 4 ข้อนี้ก็น่าจะกระทบทุกอย่างในชีวิตของเราได้แล้ว คำแนะนำสำหรับชั่วโมงการนอนคือ 7-8 ชั่วโมง หากเป็นเด็กควรอยู่ที่ 11 – 13 ชั่วโมง นอกจากนี้ควรหลับอย่างมีคุณภาพ ไม่หลับๆ ตื่นๆ ด้วยนะ 


อดนอน 1 วัน

การอดนอนหนึ่งวันหรือ 24 ชั่วโมงอาจส่งผลให้คุณอยู่ในลักษณะเดียวกับอาการมึนเมา มีงานวิจัยชี้ว่า การอดนอน 1 วันนั้นส่งผลต่อการโฟกัส สมาธิ ประสิทธิภาพของเรามากพอๆ กับการมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ 0.10 เปอร์เซ็นต์ 


อาการที่สังเกตได้บ่อยๆ คือ 


  • ง่วงนอนตอนกลางวัน
  • รู้สึกไม่สดชื่น
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิด โมโหง่ายกว่าปกติ
  • สมาธิสั้นลง 
  • การมองเห็นหรือได้ยินอาจแย่ลง 

อดนอน 1.5 วัน 

การอดนอนเป็นเวลา 36 ชั่วโมงเราจะเริ่มเห็นผลกระทบชัดมากยิ่งขึ้น ร่างกายจะอยู่ภายใต้ความเครียดร่างกายผลิตคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) มากกว่าปกติ ร่างกายเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น อยากอาหาร เครียด รู้สึกหนาวสั่น 


นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ประกอบเช่น 


  • จดจำได้แย่ลง
  • รู้สึกไม่มีพลังงาน
  • แรงจูงใจน้อยลง
  • สมาธิสั้น 
  • การตัดสินใจแย่ลง 
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอนอย่างรุนแรง
  • พูดติดขัด 

อดนอน 2 วัน

เมื่ออดนอนเป็นเวลา 48 ชั่วโมง คุณจะรู้สึกล่องลอยตลอดทั้งวัน ไม่รู้สึกสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว การจดจำทำได้แย่ลง อารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด ระบบคุ้มกันทำงานแย่ลง โอกาสในการป่วยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการที่เรียกว่า microsleep หรืออาการที่หมดสติไปชั่วขณะโดยไม่รู้ตัว 


อดนอน 3 วันหรือมากกว่า

การอดนอน 3 วันหรือมากกว่านั้นอันตรายมากๆ คุณจะอาการแย่กว่า 2 วันอย่างมาก ร่างกายอ่อนล้าสุดขีด หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ อาจจะเริ่มมีอาการประสาทหลอนบ่อยขึ้น มีอาการหวาดระแวงมากขึ้น ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุสูงมาก สมองอาจจะเริ่มหยุดทำงาน นำไปสู่การล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ จนถึงแก่ชีวิตได้ 


หากมีปัญหาเรื่องการนอนหลับควรปรึกษาแพทย์ก่อที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเอง การนอนน้อยหรือการอดนอนเสมือนการติดหนี้ (Sleep Debt) ที่ไม่สามารถชดเชยได้ ยังไงก็ควรนอนกันให้เพียงพอ


ที่มา:sanook

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไม “นอน” พอแล้ว แต่ยัง “ง่วง” ไม่สดชื่น

 การนอน คือการพักผ่อนร่างกายและจิตใจที่ดี ไม่ว่าวันนั้นเราจะต้องเจออะไรมาก็ตาม การนอนจะช่วยเยียวยาทุกอย่างให้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย แต่ใช่ว่าการนอนจะดีเสมอไป เพราะว่านอนน้อยเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกาย หรือถ้า “นอนมากเกินไป” ก็ไม่ได้ เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกัน

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไม "อ่านหนังสือ" แล้ว "ง่วงนอน"

ใครอ่านหนังสือแล้วง่วงนอนบ้างยกมือขึ้น!! แน่นอนว่าคงไม่ใช่ทุกคน แต่ก็คงมีหลายๆ คนที่อ่านหนังสือแล้วง่วงนอน บางคนเป็นตั้งแต่เรียนจนทำงาน วันนี้เลยรวบรวมข้อมูลและสรุปเป็นข้อๆ มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565

ทำไมนอนหลับครบ 8 ชม. แล้วยังไม่สดชื่น?


เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ที่ยกขึ้นมาหักล้างความเชื่อเรื่องการนอนตามสูตร 8-10 ชั่วโมง 

อาการตื่นนอนแต่กลับไม่สดชื่น แสดงว่าระดับการนอนอยู่แค่ในระยะหลับตื้น ไม่เข้าสู่ระยะหลับลึก จึงเป็นเหตุให้ความนิยมในการใช้สมาร์ทวอชเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนพยายามบันทึกพฤติกรรมการนอนของตนเอง และหาวิธีเพิ่มคุณภาพการนอนในระยะหลับลึกหรือ Deep Sleep (ไม่นับการนอนดึกหรือตื่นสายจนเกินไป) 

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565

นอนไม่หลับ “นับแกะ” ได้ผลจริงหรือไม่ จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

 นอนไม่หลับทีไร ต้อง “นับแกะ” ทุกที จริงๆ แล้วในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความเชื่อที่ว่า นอนไม่หลับให้นับแกะ ได้ผลจริงหรือไม่