วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

7 ประโยชน์จากการเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม รู้แบบนี้จะไม่นอนดึกอีกแล้ว

 เชื่อว่ามีหลายคนที่ยังคงมีพฤติกรรมการเข้านอนดึกเป็นประจำทุกวัน ซึ่งแม้ว่าจะรู้ดีถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายจากการนอนดึก ก็ยังคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเช่นนี้ได้ อาจจะด้วยความจำเป็นหรือความเคยชินก็ตาม วันนี้เราจึงขอหยิบเอาประโยชน์ดีๆ ที่ร่างกายจะได้รับจากการเข้านอนเร็วก่อน 4 ทุ่มมาแชร์ให้ได้ทราบกันค่ะ เพื่อที่อย่างน้อยอาจจะทำให้หลายๆ คนอยากลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนของตัวเองบ้าง มาดูกันค่ะว่าผลดีจากการเข้านอนเร็วมีอะไรกันบ้าง



1.สมองช่วยสร้างเคมีแห่งความสุข

ในระหว่างที่ร่างกายกำลังนอนหลับพักผ่อนอยู่นั้น สมองจะช่วยสร้างสารเคมีแห่งความสุขให้ร่างกาย มีทั้งเคมีนิทราหรือที่เรียกว่าเมลาโทนิน เคมีแห่งความสุขหรือที่เรียกว่าเซโรโทนิน และสร้างฮอร์โมนเพศ พร้อมทั้งเคมีบำรุงที่มีส่วนช่วยควบคุมระบบการทำงานในร่างกายให้มีความราบรื่น ตื่นขึ้นมาช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการป่วยอีกด้วย



2.สมองช่วยสร้างเคมีหนุ่มสาว

เคมีหนุ่มสาว หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ โกรทฮอร์โมน จะลดลงตามวัยที่มากขึ้น อีกทั้งการนอนดึกยังมีส่วนทำให้โกรทฮอร์โมนลดน้อยลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้โกรทฮอร์โมนจะถูกสร้างขึ้นในช่วง 4 ทุ่ม จึงแนะนำให้สาวๆ เข้านอนเร็วเพื่อที่ร่างกายจะสามารถสร้างเคมีหนุ่มสาวหรือโกรทฮอร์โมนธรรมชาติได้ดี


3.ซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย

การเข้านอนเร็วจะช่วยให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนสึกหรอกได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสาวๆ ที่แต่ละวันต้องทำงานหนัก ควรเข้านอนเร็ว เพื่อให้สมองได้พักผ่อน หัวใจสงบ ความดันลดลง และช่วยให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว



4.ช่วยควบคุมความดันโลหิต

การเข้านอนเร็วมีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในจุดที่สงบลง ไม่ขึ้นลงง่าย แถมยังช่วยในเรื่องของการควบคุมหัวใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



5.ลดความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการเข้านอนเร็วมีส่วนในการลดความเสี่ยงไม่ให้เป็นโรคอ้วนได้อย่างไร คำตอบก็คือการเข้านอนเร็วไม่ทำให้เกิดอาการหิวกลางดึกนั่นเอง และยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี อีกทั้งยังกระตุ้นเตาเผาในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วย



6.อวัยวะล้างพิษทำงานดีขึ้น

ในช่วงเวลาของการเข้านอนปกติ ถือเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่างๆ ที่ทำหน้าที่ล้างพิษสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต หรือลำไส้ สังเกตได้ง่ายๆ สำหรับคนที่นอนดึกบ่อยๆ หน้าตาจะมีความหม่นหมองและมีปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูกเป็นประจำ นั่นเพราะอวัยวะที่ทำหน้าที่ล้างพิษทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ



7.ทำให้ความจำดีขึ้น

การนอนหลับเป็นเวลาและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จะส่งผลให้สมองมีกลไกการจัดระเบียบได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่การนอนน้อยโดยเฉลี่ยวันละไม่ถึง 4 ชั่วโมงต่อคืนนั้น จะทำให้เกิดอาการมึน ลืมง่าย คิดอย่างพูดอีกย่าง และลิ้นพันกัน



จะเห็นได้ว่าผลดีจากการเข้านอนเร็วและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นมีมากมายและล้วนมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของคนเราอย่างมาก เพราะการนอนเร็วนั้นมีส่วนทำให้ฮอร์โมนหรือสารต่างๆ สามารถทำหน้าที่ของมันได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ที่มา:sanook

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รู้หรือไม่? “ตื่นนอนให้เร็วขึ้น” ส่งผลดีต่อการทำงานได้

 การตื่นเช้าดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคของคนทำงานกันทุกคน เพราะลำพังจะตื่นไปทำงานให้ทันสำหรับบางคนก็เป็นเรื่องยากแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าการตื่นนอนให้เร็วขึ้นส่งผลดีต่อการทำงานได้ ซึ่งคนที่ประสบความสำเร็จหรือทำงานเก่ง ๆ มักจะใช้เวลาช่วงเช้าหลังจากตื่นนอนให้เป็นประโยชน์ และนี่คือเหตุผลที่จะช่วยเปลี่ยนความคิดของคุณให้อยากตื่นเช้าขึ้นกว่าเดิม!

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

รู้ทันภาวะนอนกรน อาการที่แฝงไปด้วยอันตรายมากกว่าที่คิด

 ทราบหรือไม่ว่าการนอนกรนนั้น ถือเป็นอาการหลักของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยมีสาเหตุมาจากการที่อวัยวะในระบบหายใจส่วนต้นบางส่วนนั้นแคบลง ซึ่งการนอนกรนถือเป็นหนึ่งในอาการที่แฝงอันตรายมากกว่าที่คิด ดังนั้นเราจึงหยิบเอาเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนอนกรนมาแชร์ให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อสามารถดูแลตัวเองไม่ให้เผชิญกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนกรนกันค่ะ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

12 สุขลักษณะในการนอน เพื่อการนอนหลับที่ดีมีคุณภาพ

 การนอนหลับ เป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อสุขภาพของคนเรา ไม่ว่าจะเพศไหนวัยไหนก็ตาม หลายคนอาจไม่คิดว่าแค่การนอนก็สร้างปัญหาได้ แต่รู้ไหมว่าการนอนเหมือนฝันร้ายของใครหลาย ๆ คน ใครก็ตามที่นอนหลับยาก นอนไม่หลับ ตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ ตื่นมาแล้วนอนต่อไม่ได้ ก็จะรู้ดีว่าการนอนนั้นเป็นความทุกข์ทรมานมากแค่ไหน

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

อยากนอนตลอดเวลา ระวังเป็นโรค "เสพติดการนอน"

 นอนติดเตียง ไม่อยากลุกจากเตียง อยากทำทุกอย่างบนเตียง ระวังเป็นโรคเสพติดการนอนหรือ Clinomania อาการนี้จะเป็นยังไง สังเกตอย่างไร เรามีสรุปสั้นๆ มาฝากกัน 

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

"นอนไม่พอ" อาจเสี่ยงโรคอะไรได้บ้าง?

 มีใครบ้างที่รู้ตัวว่าทุกวันนี้การนอนในแต่ละวันของตัวเองนั้นน้อยนิดเหลือเกิน การ นอนไม่พอ นั้นอาจจะเกิดจากบางคนที่อ่านหนังสือสอบจนดึก ทำงานหามรุ่งหามค่ำจนไม่มีเวลาพักผ่อน ถึงจะได้นอน แต่ก็นอนน้อยมาก ทุกคนรู้ไหมว่าการนอนหลับไม่เพียงพอนั้นจะทำให้สุขภาพร่างกายของเราแย่ลง จนถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อได้เลยทีเดียว