วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

6 สัญญาณอันตราย เสี่ยง "ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ"

 

สังเกตอาการนอนของตัวเอง ดูว่ามีความเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับจาก 6 สัญญาณอันตรายเหล่านี้หรือไม่ หากมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

นอนน้อยไม่ถึง 6 ชม. เสี่ยงตายเร็วถึง 2 เท่า!

 อย่างที่ทราบกันดีว่าการนอนที่ดีต่อสุขภาพ ควรนอนหลับให้ได้ถึง 8 ชั่วโมง แต่ก็มักมีเหตุให้หลายคนทำไม่ได้ บ้างก็นอนไม่หลับ บ้างก็ดูซีรีส์จนเพลินกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เกือบเช้าแล้ว บ้างก็เร่งปั่นงานจนไม่ได้หลับได้นอน แต่ถ้าไม่อยากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ควรปรับพฤติกรรมของตนเองเสียใหม่ ด้วยการนอนหลับให้ได้ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

แพทย์แนะ 9 สาเหตุของอาการ “นอนไม่หลับ” พร้อมวิธีแก้ปัญหา

 

  • ปกติแล้วคนเราควรนอนวันละประมาณ 6-7 ชั่วโมง โดยเฉลี่ย หากเรานอนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากกว่าหรือเท่ากับคนที่สูบบุหรี่ คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและคนที่เป็นโรคหัวใจ

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564

นอนมาก-น้อยเกินไป เสี่ยงอ้วน เบาหวาน หลอดเลือดสมอง

 การนอนหลับพักผ่อน เป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่กลายเป็นว่าแค่การนอนหลับธรรมดาๆ กลับเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคน ด้วยหน้าที่การเรียน การงาน รวมไปถึงสภาพจิตใจที่มีความเครียด หรือโรคซึมเศร้าต่างๆ อาจทำให้การนอนหลับที่ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายกลับกลายเป็นเรื่องยาก และส่งผลกระทบต่อร่างกายที่อันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะระยะเวลานอนที่มากหรือน้อยเกินไป อาจเกิดจากโรคทางกาย สภาพจิตใจหรือโรคที่เกิดขณะหลับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

แพทย์แนะ 10 เคล็ดลับ “นอนหลับ” ง่าย เต็มตื่น ได้คุณภาพ

 

เชื่อหรือไม่ว่า การนอนหลับ ฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่กลับเป็นเรื่องยากของใครหลายคน จนต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากหมอ หรือต้องพึ่งยาบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจในด้านอื่นได้ แพทย์แนะ 10 เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้การนอนหลับให้เต็มตื่นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพื่อสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564

10 สาเหตุที่ทำให้สะดุ้งตื่นกลางดึก รู้ไว้! รับมือได้ทัน

 สาวๆ คนไหนที่มักสะดุ้งตื่นขึ้นมาช่วงกลางดึกเป็นประจำ จนทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตในช่วงกลางวัน มาลองดูสาเหตุที่มีส่วนทำให้เกิดอาการนี้กันค่ะ อย่างน้อยจะช่วยให้สาวๆ รับมือได้ทัน พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขกันต่อไป

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

“กินแล้วนอน” ทำแล้วสบาย แต่ก็อันตรายกว่าที่คิด

 ปกติแล้วกระบวนการย่อยอาหารของคนเราจะเริ่มย่อยอาหารตั้งแต่ในปากโดยการย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล (ย่อยโดยน้ำลาย) โปรตีนจะถูกย่อยที่กระเพาะอาหาร จากนั้นอาหารที่ย่อยแล้วบางส่วนจะถูกส่งไปที่ลำไส้เล็ก ซึ่งจะย่อยทั้งคาร์โบไฮเดรต (ในรูปของน้ำตาล) ย่อยโปรตีน และย่อยไขมัน สารอาหารจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก (กระบวนการย่อยอาหารจะสิ้นสุดที่ลำไส้เล็ก) ส่วนกากอาหารถูกส่งไปที่ลำไส้ใหญ่และดูดซึมสารอาหารที่เหลือจากลำไส้เล็ก